“ที่ว่าง” เรื่องสำคัญที่ควรรู้ก่อน ก่อสร้างอาคาร

ก่อสร้างอาคาร

เรื่องสำคัญที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจก่อสร้างอาคาร ก็คือ “กฎหมายควบคุมอาคาร” ซึ่งมีข้อกำหนดให้ที่ดินที่ขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารทุกประเภท ต้องเว้นให้มี ‘ที่ว่าง’ หรือการห้ามก่อนสร้างอาคารจนเต็มที่ดินทั้งแปลงที่ขออนุญาตนั่นเอง เมื่อฟังแล้วก็อาจจะงง ๆ ใช่ไหมล่ะ? แต่ไม่เป็นไร เพราะเราได้รวบรวม 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่ควรรู้มาให้คุณทำความเข้าใจเพิ่มเติมแล้ว ซึ่งจะมีอะไรบ้าง? ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย 

3 ประเด็นที่ควรรู้ เพื่อให้การ ก่อสร้างอาคาร ง่ายขึ้น 

กฎหมายควรคุมการ ก่อสร้างอาคาร ยังกำหนดสัดส่วนพื้นที่และระยะของ ‘ที่ว่าง’ ไว้ด้วยว่า “การก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารทุกอาคาร จะต้องเว้น ‘ที่ว่าง’ มากน้อยเพียงใด มีระยะเท่าใด” โดยกำหนดสัดส่วนพื้นที่และระยะของที่ว่างแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยประเภทอาคาร ขนาด และตำแหน่งของอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลง แต่เพื่อให้ง่ายกับเจ้าของบ้าน/อาคาร มี 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่ต้องทำความเข้าใจ ดังนี้ 

  1. ที่ดินแปลงที่ขออนุญาตก่อนสร้างหรือดัดแปลง ต้องเว้นที่ดินเป็น ‘ที่ว่าง’ ให้มีปริมาณ (พื้นที่) ไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยกรณีที่ก่อนสร้างอาคารที่อยู่อาศัย เช่น คอนโดมิเนียม, อพาร์ตเมนต์, บ้าน จะต้องมีปริมาณที่ว่างขั้นต่ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ชั้นหนึ่งชั้นใดที่มากที่สุดของอาคาร
  1. ตัวบ้านที่จะ ก่อสร้างอาคาร หรือดัดแปลงในแต่ละด้าน จะถูกกำหนดให้ต้องมีระยะของ ‘ที่ว่าง’ แต่ละด้านแตกต่างกันไปตามประเภทอาคาร ตามตำแหน่งที่ตั้ง เช่น บ้านประเภทห้องแถว/ตึกแถว จะแตกต่างจากบ้านแฝด และแตกต่างจากบ้านเดี่ยว นอกจากนี้หากอาคารไม่ได้อยู่ริมถนนสาธารณะ และมีความสูงแตกต่างกัน ก็มีข้อกำหนดให้ต้องเว้นที่ว่างด้านหน้า ให้มีระยะแตกต่างกันด้วย
  1. นอกเหนือจากกฎหมายควบคุมอาคารแล้ว เรื่อง ‘ที่ว่าง’ ยังมีกำหนดไว้ในกฎหมายอื่นที่ต้องปฏิบัติตามด้วย เช่น กฎหมายผังเมือง โดยเฉพาะบ้านที่สร้างในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะต้องดูข้อกำหนดเรื่องที่ว่าง ในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 ในส่วนนี้มีความแตกต่างกันไปตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน และมีการคำนวณพื้นที่ต่างไปจากกฎหมายควบคุมอาคารด้วย

ซึ่งการที่กฎหมายควบคุมการ ก่อสร้างอาคาร ให้ต้องมี ‘ที่ว่าง’ เพื่อให้บ้านหรืออาคารที่ก่อสร้างนั้น ๆ มีสภาวะแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัยทั้งในเรื่องการก่อสร้าง หรืออัคคีภัย และช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นระหว่างบ้านต่างเจ้าของที่อยู่ติดกันด้วย ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่เอื้อประโยชน์และความปลอดภัยได้อย่างรอบด้านสุด ๆ เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจสร้างอาคารหรือบ้าน ก็ควรจะศึกษารายละเอียดในข้อกฎหมายทุกส่วนให้ดีเสมอ เพื่อป้องกันการรื้อถอนในภายหลัง ซึ่งแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายจะตามมามหาศาลเลยล่ะ